White Sticky Thanyasirin

ข้าวเหนียวธัญสิริน


พันธุ์ข้าว

พันธุ์ข้าวธัญสิริน เป็น ข้าวสายพันธุ์ข้าวเหนียว ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับสำนักวิจัยและพัฒนาข้าวกรมการข้าว และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงพระราชทานนามข้าวเหนียวพันธุ์ใหม่ “ธัญสิริน” ซึ่งมาจากคำว่า “ธัญ” ที่แปลว่าข้าว และพระนาม “สิรินธร” ถือเป็นข้าวพันธุ์แรกที่ได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  

 

บุญนำพา ให้พวกเรามาร่วมทำงาน และ ได้ทานข้าว{นุ่มหนึบ}ธัญสิริน เป็นครั้งแรก

ครั้นที่พวกเรามีโอกาสได้เข้าร่วม “โครงการปรับเปลี่ยนแปลงเกษตรเคมี เป็น แปลงเกษตรอินทรีย์ เพื่อขอรับรองมาตราฐานสากล” ให้แก่เกษตรกรที่ทำนาอยู่บริเวณรอบวัดป่านาบุญ ดินแดนอันสุข สงบ และ สวยงาม โดยมีเหล่าคณาจารย์ นักวิชาการ นักพัฒนา นักบุญ หลากหลายสำนักเข้ามาช่วยเหลือในโครงการนี้ กับชาวนาวัย 60 ลุงตา

DF_brownThanyasirin1

เราได้ระดมความคิดกันว่า ข้าวสายพันธุ์อะไรดี ที่เราจะช่วย “ลุงตา” เจ้าของนาแห่งนี้?

DF_brownThanyasirin2

ดร. ปัทมา ศิริธัญญา อาจารย์และนักวิจัยผู้ทุ่มเททั้งชีวิตอุทิศให้กับงานวิจัย และ พัฒนาข้าวเพื่อคนไทย ได้เอ่ยว่า “แนะนำปลูกข้าวเหนียวธัญสิริน เหมาะที่สุด!”

ณ ตอนนั้น พูดจริงๆ ว่าทุกคนใน DE FARM TO TABLE ไม่รู้จัก และ ไม่รู้เลยว่า ข้าวเหนียวธัญสิรินจะมีรสชาติอย่างไร? และ จะนุ่มอน่อยขนาดไหนน้า?

แต่เชื่อมั่นในอาจารย์ ที่เป็นหนึ่งในกูรูเรื่องข้าวไทยที่เก่งที่สุดแล้ว ข้าวนี้จะต้องอร่อย และ ดีแน่นอน (คิดในใจ ตื่นเต้นอยากชิมตลอดระยะเวลาตั้งแต่ปลูกข้าวจนข้าวเติบโต)

ลุงตา ชาวนาที่มีอาชีพหลัก และ ประสบการณ์การปลูกข้าวทั้งชีวิต แห่งนาบุญแห่งนี้ ได้เริ่มเปลี่ยนนา โดยใช้วิถีอินทรีย์ ที่มี เหล่าอาจารย์ และ สถาบันเกษตรอินทรีย์ มาร่วมสอน ให้ความรู้ ดู ทำ ระหว่างปฏิบัติทุกช่วงการทำนา และ ตรวจสอบอย่างเคร่งครัด

ด้วยทั้งประสบการณ์การทำนาที่ปราณีต + ภูมิประเทศที่มีน้ำสะอาดจากยอดเขาไหลผ่านตลอดปี + อากาศที่ดีในช่องเนินเขา + ดินที่ได้รับการบำรุงจากปุ๋ยขี้ค้างคาวออร์แกนิค + น้ำหมักต่างๆ ที่นักวิชาการนำมามอบให้ + ความเอาใจใส่จากทั้งลุงตา และ ผู้เข้ามาร่วม อันได้แก่หน่วยงาน

  • สวทช
  • RGDU
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • DE FARM TO TABLE

DF_brownThanyasirin3

ทำให้นาข้าวธัญสิรินในครั้งนี้ ออกรวง สมบูรณ์ สวยงาม และ มีคุณค่าทั้งผลิตผลทางกายภาพ และ ใจผู้ทำ และ พลังงานส่งต่อให้ผู้ที่ทานได้จริงๆ

เมื่อถึงข้าวสุก สีทองน้อยๆ ลุงตาใช้เครื่องเกี่ยวข้าวเสร็จภายในครึ่งวัน ขับรถนำข้าวมาส่งให้ที่โรงสีของ DE FARM TO TABLE เพื่อ ตาก และ สี อย่างสะอาด ปลอดภัย

พวกเราได้ ตัดสินใจ สีข้าวเป็น 2 วิธี

  1. สีแบบข้าวกล้อง เพราะ ทางอาจารย์ได้บอกว่า ถ้านำมาหุงทานแบบข้าวกล้อง จะได้ความนุ่มหนึบ เหมือนทานข้าวญี่ปุ่น แต่รสชาติแบบข้าวไทยเลย
  2. สีแบบข้าวเหนียวขาวปกติ เพราะ อยากลองนำมาเปรียบเทียบกับข้าวเหนียวพันธุ์อื่นๆ ดูด้วยว่า ต่างกันอย่างไร

เมื่อสีเสร็จแล้ว ทีมงาน DE FARM TO TABLE เองก็นำมาผึ่งให้คลายอุ่น 1 คืน รุ่งเช้านำตัดวัดตวง ลงถุง และ vacumm นำอากาศออก เพื่อให้คนทานได้สัมผัส ถึงความ สด ใหม่ พร้อมสัมผัส สุข สงบ สวยงาม และ ปลอดภัย จากนาบุญ ที่ปลูกโดยลุงตา ครั้งนี้ ร่วมกัน

สถานที่กำเนิดของข้าว:

นาบุญ อำเภอแม่แตง

ผู้ปลูกข้าว:

ลุงตา

ประสบการณ์การปลูกข้าว:

40 ปี

Harvested:

19/11/2020

Milled:

05/12/2020

Packed:

06/12/2021

How To Cook

วิธีการ ‘นึ่ง’ ข้าวเหนียวธัญสิริน โดยใช้หวด
(แนะนำวิธีนี้เพราะจะได้ข้าวที่นุ่มมาก และ นุ่มนานที่สุด)

*** เนื่องจากเป็นข้าวใหม่ และนำบรรจุในถุงสูญญากาศทันที ดังนั้น ไม่จำเป็นต้องแช่ข้าวนาน ***

  1. แช่ข้าวเหนียว 1 กก เป็นเวลา 30 นาที
  2. เทน้ำที่แช่ข้าวเหนียวออก และ ให้เก็บน้ำที่แช่ข้าวเหนียวไว้ก่อน
  3. นำข้าวเหนียวที่แช่ไว้เทลง ‘หวด’
  4. ใส่น้ำในหม้อด้านล่าง (ถ้ามีใบเตย และ ต้องการกลิ่นใบเตย สามารถนำใบเตย 2-3 ใบ มัดแช่ในน้ำได้)
  5. นำฝาหม้ออะไรก็ได้ที่มีขนาดปิดข้าวเหนียวด้านในได้มิด ปิดไว้
  6. ตั้งไฟจนน้ำเดือน ประมาณ 15 นาที
  7. เปิดฝาหม้อ พรมน้ำแช่ข้าวลงบนข้าวเหนียวที่กำลังสุก และ เขย่าหรือคนข้าวจากล่างขึ้นบน / บนลงล่าง
  8. อยู่ในระยะตั้งไฟ ต่ออีกประมาณ 10 นาที หรือ ดูจนนิ่มสุกที่เราชอบ
  9. ตักข้าวใส่ใน ‘ผ้าขาวบาง’ เกลี่ยๆ ข้าวเพื่อระบายไอน้ำทั่วๆ
  10. นำตักใส่ภาชนะ อาทิกระติ๊บข้าวเหนียว หรือ ยกข้าวเหนียวพร้อมผ้าขาวบางเก็บในกระติกเก็บความร้อน